Sunday, June 3, 2007

วัฒนธรรมการเรียน

วัฒนธรรมการเรียนรู้ทางที่ดีที่ดิฉันเห็น ก็คือ การเข้าแถวรับอาหารจากคุณครูของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1และ2 เป็นภาพที่น่ารักและน่าประทับใจมาก เมื่อถึงเวลาเที่ยงนักเรียนทุกคนจะรู้หน้าที่ของตนเอง จะออกจากห้องมาเข้าแถวหน้าชั้นเรียนเพื่อเข้าแถวเดินไปโรงอาหาร และเมื่อถึงโรงอาหารทุกคนก็จะไม่แตกแถว เข้าแถวรับอาหารอย่างเป็นระเบียบ และไม่เล่นหรือพูดคุยกันเสียงดัง เมื่อได้รับอาหารแล้วก็จะมานั่งประจำที่ของตนเอง เวลารับประทานอาหารก็ไม่พูดคุยเสียงดัง ไม่เล่น ทุกคนจะรับประทานให้หมดไม่ให้เหลือ แม้กระทั่งผักที่ไม่ชอบทุกคนก็จะต้องนั่งกินให้หมด เพราะถูกปลูกฝังมาให้เห็นคุณค่าของอาหารทุกอย่างจากคุณครูและพ่อแม่ เมื่อรับประทานอาหารหมดแล้วนักเรียนจะเดินไปให้คุณครูตรวจดูว่ารับประทานหมดหรือไม่ ถ้าไม่หมดก็ต้องกลับมานั่งรับประทานต่อไป การรับประทานอาหารของโรงเรียนแห่งนี้จะเป็นอย่างนี้ทุกวัน จะเข้าแถวรับประทานอาหารอย่างเป็นระเบียบ รับประทานอาหารให้หมด (เห็นใจคนที่ไม่มีจะกิน) เป็นต้น และการปฏิบัติเช่นนี้นักเรียนทุกคนก็ปฏิบัติตามกันอย่างดี เพราะเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ดีในสังคม และดิฉันก็คิดว่าเป็นวัฒนธรรมที่ดีน่าปฏิบัติตามอย่างมาก

วัฒนธรรมการเรียน

วัฒนธรรมการเรียนรู้ทางที่ดีที่ดิฉันเห็น ก็คือ การเข้าแถวรับอาหารจากคุณครูของนักเรียนช่วงชั้นที่ 1และ2 เป็นภาพที่น่ารักและน่าประทับใจมาก เมื่อถึงเวลาเที่ยงนักเรียนทุกคนจะรู้หน้าที่ของตนเอง จะออกจากห้องมาเข้าแถวหน้าชั้นเรียนเพื่อเข้าแถวเดินไปโรงอาหาร และเมื่อถึงโรงอาหารทุกคนก็จะไม่แตกแถว เข้าแถวรับอาหารอย่างเป็นระเบียบ และไม่เล่นหรือพูดคุยกันเสียงดัง เมื่อได้รับอาหารแล้วก็จะมานั่งประจำที่ของตนเอง เวลารับประทานอาหารก็ไม่พูดคุยเสียงดัง ไม่เล่น ทุกคนจะรับประทานให้หมดไม่ให้เหลือ แม้กระทั่งผักที่ไม่ชอบทุกคนก็จะต้องนั่งกินให้หมด เพราะถูกปลูกฝังมาให้เห็นคุณค่าของอาหารทุกอย่างจากคุณครูและพ่อแม่ เมื่อรับประทานอาหารหมดแล้วนักเรียนจะเดินไปให้คุณครูตรวจดูว่ารับประทานหมดหรือไม่ ถ้าไม่หมดก็ต้องกลับมานั่งรับประทานต่อไป การรับประทานอาหารของโรงเรียนแห่งนี้จะเป็นอย่างนี้ทุกวัน จะเข้าแถวรับประทานอาหารอย่างเป็นระเบียบ รับประทานอาหารให้หมด (เห็นใจคนที่ไม่มีจะกิน) เป็นต้น และการปฏิบัติเช่นนี้นักเรียนทุกคนก็ปฏิบัติตามกันอย่างดี เพราะเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่ดีในสังคม และดิฉันก็คิดว่าเป็นวัฒนธรรมที่ดีน่าปฏิบัติตามอย่างมาก

เรื่องวัฒนธรรมการสอนของครู

วันครู 16 ม.ค. ปีนี้ เป็นปีที่ครบรอบ 50 ปีของวันครู กระทรวงศึกษาธิการจึงจัดงาน 50 ปีวันครูขึ้นที่หอประชุมคุรุสภา โดยช่วงเช้าวันดังกล่าว นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของกระทรวง ทำพิธีถวายสักการะพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมทั้งคารวะครูอาวุโส นางอายะดา กีรินกุล อายุ 95 ปี ครูเก่าแก่ อดีตอาจารย์ใหญ่โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย จากนั้น มีพิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพคณาจารย์ ต่อมาเวลา 09.15 น. พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีมอบรางวัลผู้ได้รับรางวัลครูดีเด่นทั่วประเทศ ซึ่งนางอายะดาได้รับรางวัลนี้ด้วย ตามด้วยการมอบรางวัลผู้ชนะการประกวดคำขวัญวันครู และรางวัลผู้ชนะการประกวดบทร้อยกรองเทิดเกียรติคุณครู จากนั้นนายกฯกล่าวว่า ได้พยายามทำงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ ในการที่จะดำเนินการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งจะไม่ใช่การปฏิรูปเพียงโครงสร้าง แต่ต้องรวมไปถึงการเปลี่ยนวัฒนธรรมการสอนของครู วัฒนธรรมการเรียนของนักเรียน ซึ่งจำเป็นต้องใช้เวลา เพราะเราเคยชินกับวัฒนธรรมในการสอนแบบเก่ามานานมาก นายกรัฐมนตรีกล่าวอีกว่า วันครูในปี 2549 เป็นวันที่ครบ 50 ปีของวันครู จึงอยากขอร้องครูทั่วประเทศ ให้เปลี่ยนวัฒนธรรมการสอน โดยจะต้องขจัดการเรียนแบบท่องจำออกจากระบบการศึกษา เพราะการเรียนแบบท่องจำ เป็นการสอนและออกข้อสอบที่ง่ายสำหรับครู แต่ทำให้สังคมไทยผลิตเด็กที่จบการศึกษาออกมาแล้วคิดไม่เป็น ทำให้เด็กไม่ได้ฝึกคิด ฝึกวิเคราะห์ แม้แต่การสอบในระดับปริญญาเอก ยังพบว่ามีการออกข้อสอบแบบท่องจำ จึงถือโอกาสวันครู มอบเป็นภารกิจสำคัญให้ กระทรวงศึกษาธิการขจัดการเรียนการสอนแบบเก่าออกไป นอกจากนี้ ได้พยายามอย่างยิ่งที่จะทำให้ชีวิตครูมีความสุข แก้ไขปัญหาเรื่องหนี้สินครู ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการกำลัง ปรับโครงสร้างหนี้สินครูครั้งใหญ่อยู่ และตนจะดูแลอย่างใกล้ชิด “ผมจะพยายามนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาให้ครูได้พัฒนาการในเรื่องใหม่ๆไปพร้อมกับเด็ก ครูจะได้เป็นคนที่ทันสมัย เช่น ระบบสมาร์ทการ์ด ในเรื่องทุนการศึกษา และปี 2550 จะมีโครงการวันแลปทอป เปอร์ชายด์ คือ เด็กประถมศึกษาตามชนบทและชุมชนทุกคนจะมีคอมพิวเตอร์แลปทอปใช้ ครูมีความหมายลึกซึ้ง ผมมีความเป็นครูตั้งแต่อยู่ชั้น ป.4 เพราะต้องสอนหนังสือให้ น้องเพื่อสอบเข้าโรงเรียน ใจก็เป็นครู ทุกวันนี้ก็ทำงานแบบครู ตอนจบปริญญาเอก ก็ไปทำงานเป็นครู ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ความเป็นครูมีอยู่เต็มตัว อยากให้ครูเรียกจิตวิญญาณของความเป็นครูกลับมา เพราะครูที่ดีไม่ต้องเก่ง แต่ต้องมีจิตวิญญาณ ผมกลัวครูอวดเก่ง เพราะหากครูคิดว่าตัวเองเก่งจะเกิดอันตรายกับนักเรียน เพราะความรู้ในโลกนี้ไม่สิ้นสุด ต้องเรียนรู้อยู่ตลอด” นายกรัฐมนตรีกล่าว พ.ต.ท.ทักษิณยังกล่าวด้วยว่า พร้อมที่จะทำงานกับครูอย่างใกล้ชิด แต่ครูต้องมีเหตุผล ไม่ถูกชักจูง ไม่กลัวจนเกินเหตุ คนที่เป็นนักการเมืองทุกคนไม่มีใครอยากมีเรื่องกับครู มีแต่คนอยากรักครู อยากจะบอกครูว่า ตนก็มีหัวใจเป็นครู ห่วงใยครู เมื่อครูพบปัญหา ตนจะต้องแก้ ครูคิดอะไรตนก็คิดเหมือนกัน แต่บางครั้งด้วยภาระหน้าที่ อาจจะไม่สามารถทำทุกอย่างตามที่ครู ต้องการได้ อยากเห็นผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการติดดิน ลงไปพื้นที่เพื่อรับทราบปัญหาของครูอย่างแท้จริง ไม่ควรอยู่แต่ใน กทม. ไม่มองครูเป็นเครือข่าย ไม่มองเป็นพลัง แต่ต้องมองเป็นเครื่องมือใช้สร้างกำลังของชาติ และทำให้จิตวิญญาณของความเป็นครูกลับมาสู่ครู จะทำให้การ ปฏิรูปการศึกษาเป็นเรื่องง่าย วันเดียวกัน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้จัดสัมมนา เรื่องการปฏิรูปการศึกษาบนฐานรากปรัชญาพอเพียง เนื่องในวันครู มี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ มากล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่องสร้างอนาคตของประเทศด้วยการศึกษา จากฐานรากปรัชญาพอเพียง ว่า การศึกษามีบทบาทสำคัญที่สุดในการสร้างอนาคต สันติสุขชาติ ซึ่งตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มุ่งให้เกิดการปฏิรูปการศึกษา เปลี่ยนแปลงการสร้างเด็ก คน ให้มีความรู้ คุณธรรม ที่ผ่านมาเราได้ ใช้แนวคิดใดในการเป็นฐานการปฏิรูปการศึกษา ทั้งนี้ ปรัชญาพอเพียงสามารถนำมาใช้กับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ในทุกวิชา เพราะมีความพอดีพอเพียง ไม่เสี่ยงกับความไม่แน่นอน มีความรู้ คุณธรรม และยังสามารถนำไปใช้ ได้กับการปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ สำหรับความหมายของครูต้นแบบ จากการรวมศัพท์จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน คำว่าครู และต้นแบบควรหมายถึง ครูที่สร้างขึ้นเป็นแบบฉบับครูตามแนวคิดของตนมี 2 ประเภท ได้แก่ 1. ครูอาชีพ คือครูที่มีจิตวิญญาณแห่งความเป็นครู รักและห่วงศิษย์ประดุจลูกหลาน รักสถาบัน เมื่อจำเป็นก็พร้อมเสียสละเวลาส่วนตัวให้ศิษย์และสถาบันด้วยความเต็มใจและภูมิใจ มีความรู้ครบถ้วนในสาขาวิชาที่สอน และหาความรู้อยู่เสมอ 2. อาชีพครู คือ ครูที่รับราชการเพื่อรับเงินเดือน สอนตามหน้าที่ เมื่อถึงเวลานอกราชการ หรือแม้แต่ในราชการก็ไปทำอย่างอื่น พลเอกเปรมยังได้ยกพระบรมราโชวาทในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานแก่ครูอาวุโส ณ พระ ที่นั่งดุสิดาลัย พระบรมมหาราชวัง เมื่อวันที่ 13 ต.ค. 2520 มีความตอนหนึ่งว่า ผู้เป็นครูอย่างแท้จริง นับว่าเป็นบุคคลพิเศษ ผู้ต้องแผ่เมตตา และเสียสละเพื่อความสำเร็จ ความสุข ความเจริญของผู้อื่นตลอดชีวิต ที่คิดดังนั้น เพราะครูต้องมีความรักสงสารศิษย์เป็นพื้นฐานชีวิตอย่างหนักแน่น จึงจะอบรมสั่งสอนให้การศึกษาศิษย์ ทั้งต้องลำบากตรากตรำทั้งกายใจ อดทนเคี่ยวเข็ญศิษย์ให้ไปได้ ตลอดรอดฝั่ง อีกประการ ต้องเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเป็นอันมาก เพราะเป็นการที่รู้อยู่แล้วว่า การทำงานในอาชีพนี้จะไม่แสวงหาผลประโยชน์ อำนาจ ยศศักดิ์ในทางใดทางหนึ่ง

Saturday, June 2, 2007

งานวัสดุช่างอุตสาหกรรม


ชื่อวิชา วัสดุช่างอุตสาหกรรม
รหัสวิชา 2100 - 1002
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาลักษณะ ชนิด มาตรฐาน กรรมวิธีการผลิต การใช้งาน การจัดเก็บ วัสดุในงานอุตสาหกรรมประกอบด้วย โลหะ อโลหะ โลหะผสม อิทธิพลของธาตุที่มีต่อโลหะผสม เชื้อเพลิง วัสดุหล่อลื่นและวัสดุหล่อเย็น วัสดุก่อสร้าง วัสดุสังเคราะห์ วัสดุไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ การกัดกร่อนและการป้องกัน การตรวจสอบวัสดุเบื้องต้น พลังงานในอนาคต
เนื้อหาที่ทำการเรียนการสอน
เคมีเทคนิค โลหะหนักประสม หนังและสิ่งทอ พื้นฐานวัสดุช่าง
โลหะเบาและโลหะเบาประสม แก้ว เหล็กดิบ
เชื้อเพลิง คอนกรีตและอิฐ เหล็กหล่อ สารหล่อลื่นและสารหล่อเย็น
วัสดุตัวนำและฉนวน เหล็กอ่อนและเหล็กกล้า พลาสติก วิธีทดสอบวัสดุช่าง การผลิตเหล็กกล้า ยาง การกัดกร่อน มาตรฐานเหล็กในงานอุตสาหกรรม สี การจัดเก็บวัสดุช่าง โลหะซินเตอรกาว พลังงานในอนาคต โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก ไม

รูป